Koh Mak Green destination
โครงการฟื้นฟูปะการังคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมพลังเครือข่าย
ขับเคลื่อนการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เกาะหมาก จังหวัดตราด
ขับเคลื่อนการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เกาะหมาก จังหวัดตราด
6-8 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ร่วมกับภาคีเครือข่าย นำโดยศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทะเลจังหวัดตราด สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดตราด (ศรชล.) มูลนิธิรักษ์ปะการัง โดยความอุปถัมภ์ของ บมจ.เอจีซี วีนิไทย องค์การบริหารส่วนตำบล เกาะหมาก กลุ่มอนุรักษ์ปะการังเกาะหมาก และชุมชนเกาะหมาก ให้การต้อนรับ ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ในการตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการฟื้นฟูปะการังของหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่เกาะหมาก จังหวัดตราด การเข้าพื้นที่เพื่อดูสถานการณ์การตายของหญ้าทะเล บริเวณเกาะกระดาด การดำน้ำดูกิจกรรมการปลูกปะการังในพื้นที่เกาะผี และการรับฟังการรายงานการดำเนินงานการอนุรักษ์และฟื้นฟูปะการัง ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จากหน่วยงานต่าง ๆ ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุตาภา คุณสุข ได้นำเสนองานวิจัยโครงการการกักเก็บคาร์บอนสีน้ำเงินในระบบนิเวศหญ้าทะเล ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และรายงานสถานการณ์การตายของหญ้าทะเล บริเวณเกาะหมาก ตลอดจนการรายงานแผนการดำเนินงานเรื่องทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของพื้นที่เกาะหมากที่มหาวิทยาลัยดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่าย ให้กับท่านอธิบดีได้ทราบด้วย โดยผลจากการตรวจเยี่ยม อธิบดีทช. ได้ให้แนวทางในการปฏิบัติงานทั้งกับหน่วยงานของกรมทช. ในพื้นที่ และภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันขับเคลื่อน และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับงานอนุรักษ์ปะการัง และทะเลของพื้นที่เกาะหมากไปสู่ความยั่งยืน #CORAL #RBRU #SDG14LifeBelowWater #SDG13ClimateAct #มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
โครงการฟื้นฟูปะการัง คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ร่วมกับเครือข่ายมอบอุปกรณ์การ "shading" ป้องกันการฟอกขาวปะการังจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change)ในช่วงฤดูร้อน
7 พฤษภาคม 2567 โครงการฟื้นฟูปะการัง ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ปะการัง โดยความอุปถัมภ์ของ บมจ.เอจีซีวีนิไทย มอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำฐานปูนฟื้นฟูปะการัง จำนวน 1,000 ชิ้น (ฝาปิดท่อพีวีซี) และผ้าใบบังแสง สำหรับลดการฟอกขาวในแนวปะการัง (shading) ให้กับกลุ่มอนุรักษ์ปะการังเกาะหมาก โดยมีนายนพดล สุทธิธนกูล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก เป็นผู้แทนรับมอบ
หมายเหตุ 1. ฐานปูนฟื้นฟูปะการัง เป็นวัสดุสำหรับการนำเอาปะการังที่ได้รับการอนุบาลมาแล้วในแปลงปลูกแบบพีวีซี มาปลูกบนฐานฟื้นฟูปะการังที่มีจำนวน 3 กิ่ง เพื่อเป็นการฟื้นฟูปะการังให้มีความกลมกลืนไปกับธรรมชาติ ซึ่งเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ปะการังอย่างยั่งยืน ของมหาวิทยาลัยฯ และเครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งมีการศึกษาวิจัยในพื้นที่ต้นแบบเเสมสาร เป็นระยะเวลา 2 ปี และนำลงสนับสนุนงานฟื้นฟูปะการังในปี 2566 เป็นต้นมา 2. ช่วงเมษายน-พฤษภาคม ใน 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ ปะการังได้รับผลการกระทบจากการเพิ่มอุณหภูมิของสภาพภูมิอากาศโลก (climate change) ส่งผลทำให้ปะการังที่มีสุขภาพดี (healthy coral) มีความครียด และคายสาหร่าย (algae) ที่อยู่ร่วมกันมา ซึ่งสาหร่ายนี้จะทำหน้าที่ให้พลังงาน และอาหาร ให้กับปะการังเป็นหลัก โดยเมื่ออุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น ตลอดจนแสงที่ส่องมาลงยังปะการังมีความเข้มแสงมากขึ้น จะส่งผลทำให้ปะการังคายสาหร่ายที่อาศัยอยู่ด้วยทิ้ง ส่งผลทำให้ตัวของปะการังมีการฟอกขาว โดยตัวปะการังจะยังไม่ตายทันที แต่เมื่อเวลาผ่านไป ตัวปะการังมีการอาหารได้บ้าง แต่ไม่เพียงพอ เพราะอาหารและพลังงานหลัก ที่เคยได้รับจากสาหร่ายนั้นหายไป จึงทำให้สุดท้ายแล้วปะการังก็จะตายในที่สุด ดังนั้นวิธิการลดแสง บังเเสง โดยใช้วัสดุต่าง ๆ ให้แสงผ่านมายังปะการัง จึงเป็นการช่วยลดผลกระทบจาก climate change ที่นักชีววิทยาทางทางทะเล พยายามช่วยปกป้องปะการัง ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่ง่ายเลย เพราะพื้นที่แนวปะการังในทะเลของประเทศค่อนข้างกว้างมาก แต่ก็นับว่าเป็นความพยายามที่จะช่วยปรับตัวของปะการังให้มีความต้านทาน ปรับตัว และฟื้นตัวจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในมหาสมุทร ซึ่งแน่นอนว่า หากเราสามารถปกป้องรักษา แนวปะการังเอาไว้ได้ ก็จะเป็นการช่วยอนุรักษ์สัตว์ทะเลต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารของเราเอาไว้ด้วย ตลอดจนการสร้างความเข้มเเข็งให้กับชุมชนในการอนุรักษ์ฐานทรัพยากร เพื่อเป็นเเหล่งสร้างรายได้ที่ยั่งยืนของชุมชนต่อไป
ที่มา: มูลนิธิรักษ์ปะการัง โดยความอุปถัมภ์ของ บมจ.เอจีซีวีนิไทย และกลุ่มอนุรักษ์ปะการังเกาะหมาก
อ้างอิง: P. Butcherine et al. Intermittent shading can moderate coral bleaching on shallow reefs. Frontiers in Marine Science. Vol. 10, September 20, 2023. doi: 10.3389/fmars.2023.1162896.
เรียบเรียง: ชุตาภา คุณสุข คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.รำไพพรรณี