Academic service
4-6 พฤศจิกายน 2567 โครงการฟื้นฟูปะการังและสร้างเเหล่งเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จัดค่ายวิทยาศาสตร์ทางทะเลและมหาสมุทร หัวข้อ รักษ์ทะเลจันท์ ร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงินสู่ความยั่งยืน ณ อาคารพระเเม่มารีย์ โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการเรียนการสอนเรื่องทะเลเเละมหาสมุทร ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ โดยกิจกรรมในค่ายประกอบไปด้วยฐานการเรียนรู้จำนวน 8 ฐาน อาทิเช่น ฐานการเรียนรู้หญ้าทะเล ฐานการเรียนรู้ความหลากหลายของสัตว์ทะเล ฐานการเรียนรู้เรื่องขยะทะเล ไมโครพลาสติก ฐานการเรียนรู้เครื่องมือประมงชายฝั่ง ฐานการเรียนรู้แมงกะพรุน ฐานการเรียนรู้ทษวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศ ฐานการเรียนรู้ปะการัง เป็นต้น โดยมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-6 เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 1,480 คน #บริการวิชาการ #ค่ายวิทยาศาสตร์ทางทะเล #ปะการัง #RBRU #SDG4,14 #รักษ์ทะเลจันท์🌙
โครงการอบรมครูโดยใช้ปะการังเป็นฐาน เพื่อการขับเคลื่อนเรื่องทะเลและชายฝั่ง ครั้งที่ 1
วันที่ 5-7 พฤษภาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีจัดโครงการพัฒนาครูโดยใช้ปะการังเป็นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้เรื่องทะเลและชายฝั่ง โดยมีผู้เข้าอบรมจำนวน 30คน จากโรงเรียน 13โรงเรียน และได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากบริษัทเอจีซี วีนิไทย มูลนิธิรักษ์ปะการัง และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี สำหรับกิจกรรมในการอบรมมีการฝึกทักษะในด้านการดำน้ำดูปะการัง การศึกษาระบบนิเวศโขดหินหาดทราย การศึกษาสัตว์ทะเลชายฝั่ง สัตว์น้ำพลอยจับได้ การทำปฏิบัติการผ่าปลาหมึก เพื่อศึกษาระบบอวัยวะต่างๆ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศทะเลและชายฝั่งจังหวัดจันทบุรี วิทยากรโดยอาจารย์ประสาน แสงไพบูลย์ ประธานมูลนิธิรักษ์ปะการัง การออกแบบรายวิชาและหลักสูตร เพื่อการเรียนรู้ทะเลและชายฝั่ง และการสร้างนวัตกรรม การเรียนการสอนทางทะเลและชายฝั่ง โดยอาจารย์สุนันท์ พุทธภูมิ หัวหน้าศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทางทะเลเเละการอนุรักษ์ และอาจารย์ดำรงค์ สุภาษิต โรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา ผลจากการฝึกอบรมมีการขยายผลเพื่อการขับเคลื่อนการเรียนการสอนด้านทะเลและชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการศึกษาการเรียนรู้การฟื้นฟูปะการัง และการศึกษาการกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศหญ้าทะเล ในพื้นที่เกาะหมาก อันเป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาของมหาวิทยาลัยในมิติสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นฐานรากในด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมอย่างยั่งยืน
โครงการอบรมครูโดยใช้ปะการังเป็นฐาน เพื่อการขับเคลื่อนเรื่องทะเลและชายฝั่ง ครั้งที่ 2
6-7 เมษายน 2567
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี และมูลนิธิรักษ์ปะการัง โดยความอุปถัมภ์ของ บมจ.เอจีซีวีนิไทย จัดโครงการพัฒนาครูโดยใช้ปะการังเป็นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้เรื่องทะเลและชายฝั่ง ปีที่ 2 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และเกาะนมสาว วนอุทยานเขาแหลมสิงห์ โดยโครงการนี้ได้มีการจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง มาเป็นปีที่ 2 ซึ่งได้มีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมสนับสนุนอีกจำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล จังหวัดจันทบุรี และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดจันทบุรี (ศรชล.) โดยมีคุณครูสนใจเข้าร่วมทั้งสิ้นจำนวน 35 คน และมีบุคลากรจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายเข้าร่วมทั้งสิ้น 25 คน รวมจำนวน 60 คน โดยมีกิจกรรมการบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และศึกษาการจัดการเรียนรู้เรื่อง ความหลากหลายของสัตว์ทะเล จุลินทรีย์ในทะเล ขยะทะเลและโลหะหนักในดินตะกอน และอาหารทะเลสร้างสรรค์จากคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมการสอนดำน้ำศึกษาระบบนิเวศปะการัง และสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ณ เกาะนมสาว วนอุทยานเขาแหลมสิงห์ และเข้าเยี่ยมชมส่วนงานเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลชายฝั่งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน #โครงการฟื้นฟูปะการัง #คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี #มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีมุ่งสู่ความยั่งยืน #SDG13 #SDG14
บรรยากาศงานอบรมครูโดยใช้ปะการังเป็นฐาน ปี 2566 ณ ชานฝั่งเกาะเเสมสาร จังหวัดชลบุรี
โครงการบริการวิชาการ เรื่อง แนวทางสร้างความมั่นคงทางอาหารสำหรับสัตว์น้ำวัยอ่อนด้วยหญ้าทะเลสนามไชย
โครงการพัฒนาครูโดยใช้ปะการังเป็นฐาน ปีที่ 2
โดย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี มูลนิธิรักษ์ปะการัง โดยความอุถัมภ์ของบมจ.เอจีซีวีนิไทย จำกัด มหาชน และวนอุทยานเขาแหลมสิงห์
6-7 เมษายน 2567
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี และมูลนิธิรักษ์ปะการัง โดยความอุปถัมภ์ของ บมจ.เอจีซีวีนิไทย จัดโครงการพัฒนาครูโดยใช้ปะการังเป็นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้เรื่องทะเลและชายฝั่ง ปีที่ 2 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และเกาะนมสาว วนอุทยานเขาแหลมสิงห์ โดยโครงการนี้ได้มีการจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง มาเป็นปีที่ 2 ซึ่งได้มีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมสนับสนุนอีกจำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล จังหวัดจันทบุรี และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดจันทบุรี (ศรชล.) โดยมีคุณครูสนใจเข้าร่วมทั้งสิ้นจำนวน 35 คน และมีบุคลากรจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายเข้าร่วมทั้งสิ้น 25 คน รวมจำนวน 60 คน โดยมีกิจกรรมการบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และศึกษาการจัดการเรียนรู้เรื่อง ความหลากหลายของสัตว์ทะเล จุลินทรีย์ในทะเล ขยะทะเลและโลหะหนักในดินตะกอน และอาหารทะเลสร้างสรรค์จากคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมการสอนดำน้ำศึกษาระบบนิเวศปะการัง และสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ณ เกาะนมสาว วนอุทยานเขาแหลมสิงห์ และเข้าเยี่ยมชมส่วนงานเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลชายฝั่งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน #โครงการฟื้นฟูปะการัง #คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี #มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีมุ่งสู่ความยั่งยืน #SDG13 #SDG14
นักศึกษา ผช.วิทยากรการฝึกอบรม
ฐานจุลินทรีย์ในทะเล
กิจกรรมนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เรื่องทะเล โดยอาจารย์ดำรง
ฐานอาหารสร้างสรรค์
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการธนาคารปูโดยใช้แนวคิดและเครื่องมือทางด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
22 มีนาคม 2567 ผศ.วิชลัดดา อุ่นสะอาด คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการธนาคารปูโดยใช้แนวคิดและเครื่องมือทางด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม และเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมปะการัง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมี รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช จากภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ Associate Prof.Dr. Yohei Mitani จาก Division of Natural Resource Economics, Kyoto University และผศ.ดร.ชุตาภา คุณสุข คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวิทยากร มีอาจารย์นักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีการเกษตร พร้อมทั้งนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาชีววิทยา ชั้นปีที่2,3 และ 4 เข้าร่วมในครั้งนี้ โดยโครงการอบรมนี้อยู่ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถขั้นสูงของกำลังคนเพื่อขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนด้านเกษตรและป่าไม้ ซึ่งมีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนงานวิจัยในระดับนานาชาติ #SDG14 LifeBelowWater #SDG13ClimateAct #reinventinguniversity #Science&Tech #RBRU